New Issues » “ซีพีแรม” ยกระดับความมั่นคงทางอาหาร สานต่อโครงการ “ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย”

“ซีพีแรม” ยกระดับความมั่นคงทางอาหาร สานต่อโครงการ “ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย”

22 กุมภาพันธ์ 2020
0

alivesonline.com : “ซีพีแรม” เดินหน้าโครงการ “ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย” ต่อเนื่องปีที่ 5 ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 3 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมประมง พัฒนา “ศูนย์การเรียนรู้โรงเพาะฟักลูกปู” พร้อมนำพนักงานร่วมกลุ่มชุมชนปล่อยพันธุ์ลูกปูม้าระยะ Young Crab จำนวน 2 แสนตัว สู่ท้องทะเลในพื้นที่เกาะเสร็จ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มุ่งยกระดับการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของการอนุรักษ์ปูม้าและระบบนิเวศของท้องทะเลไทย

นายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ผู้ผลิตอาหารพร้อมรับประทาน (Ready To Eat : RTE) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 3 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมประมง ในการปรับปรุงและพัฒนา “ศูนย์การเรียนรู้โรงเพาะฟักลูกปู” ภายใต้โครงการ “ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการเพาะพันธ์ลูกปูม้าและเป็นการเพิ่มปริมาณปูม้าในพื้นที่บริเวณชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมุ่งหวังเป็นการยกระดับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของการอนุรักษ์ปูม้าและระบบนิเวศของท้องทะเลไทย

การดำเนินการตามโครงการดังกล่าวเป็นการหวังผลในระยะยาว เพื่อต้องการอนุรักษ์พันธุ์ปูม้าในพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ไม่ให้สูญหายและยังเป็นการส่งเสริมผู้ผลิตรายย่อย ซึ่งเป็นชาวประมงพื้นบ้านให้สามารถดำเนินการประมงได้อย่างยั่งยืน ด้วยการเพาะพันธุ์ปูม้าในพื้นที่โดยการฟักไข่จากตับปิ้งของแม่ปูม้าที่มีไข่นอกกระดองและอนุบาลตัวอ่อนภายในกระชังที่อยู่ในทะเลเพื่อรอการปล่อยสู่ชายฝั่งทะเลจนเติบโตเป็นปูม้าขนาดใหญ่

นายวิเศษ กล่าวอีกว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินงานโครงการ “ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย” ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การทำประมงปูม้าในพื้นที่เป็นไปอย่างรับผิดชอบ ไม่มีผลเสียต่อระบบนิเวศวิทยาทรัพยากรและคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังเพิ่มมูลค่าปูม้าจากการแปรสภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานทางสุขอนามัยให้ได้ผลิตภัณฑ์ปูม้าที่มีคุณภาพสำหรับการบริโภค ประกันการรักษามาตรฐานและด้านสาธารณสุข ตลอดจนคุณภาพอาหาร

“ซีพีแรม” ได้ขับเคลื่อนภารกิจงานด้านความรับผิดชอบทางสังคม โดยบุคลากรในองค์กรทุกคนได้มีส่วนร่วมและนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันอย่างต่อเนื่องครอบคลุมหลายด้าน เพื่อสร้างคุณค่าให้สังคมรอบข้าง ตลอดจนร่วมส่งมอบความดีคู่ความเก่งให้ผู้บริโภคและสังคม ภายใต้นโยบาย FOOD 3S ได้แก่ Food Safety, Food Security, และ Food Sustainability ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมกันทำตลอดห่วงโซ่อุปทาน พร้อมกันนั้น “ซีพีแรม” ยังคงมุ่งส่งเสริมความรู้อาหารปลอดภัย คุณค่าทางโภชนาการ และสุนทรียภาพในการบริโภค ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ด้านการพัฒนาการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยคำนึงถึงการมอบสิ่งที่เป็นคุณค่าบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจตามหลัก 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่มุ่งสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ ประเทศชาติ สังคม และบริษัท

ภายใต้โครงการ “ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย” บริษัท ซีพีแรม จำกัด ยังได้รับเกียรติจากนายเจริญศักดิ์ วงศ์สุวรรณ นายอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดร.สุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง ผู้บริหารศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 3 (สุราษฎร์ธานี) และผู้บริหารบริษัท วิยะเครปโปรดักส์ จำกัด ผู้ผลิตและแปรรูปอาหารจากเนื้อปูม้าในฐานะผู้ส่งมอบวัตถุดิบให้ซีพีแรม ร่วมปล่อยลูกพันธุ์ปูม้า ระยะ Young Crab คืนสู่ทะเลกว่า 2 แสนตัว ณ บริเวณเกาะเสร็จ บ้านพุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

การดำเนินงานตามโครงการ “ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย” ครั้งนี้ยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยการเก็บขยะ ณ บริเวณพื้นที่ชายหาดเกาะเสร็จ โดยมีตัวแทนจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมอย่างพร้อมเพียง อาทิ ผู้แทนจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุราษฎร์ธานี, องค์กรประสานความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, ส่วนราชการอำเภอไชยา, ส่วนราชการตำบลพุมเรียง, ชาวบ้านตำบลพุมเรียง, กลุ่มอนุรักษ์อ่าวพุมเรียง, กลุ่มธนาคารปูอ่าวพุมเรียง, นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รวมทั้งสิ้นกว่า 150 คน

ด้าน ดร.สุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง เปิดเผยว่า ปูม้าตามธรรมชาติในทะเลมีปริมาณลดลงเนื่องจากมีการบริโภคเพิ่มมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันการอนุรักษ์และพื้นฟูทรัพยากรปูม้าในประเทศไทยก็ถือว่าประสบความสำเร็จโดยสามารถเพิ่มปริมาณปูม้าได้เพิ่มมากขึ้น โดยจากการสอบถามพบว่าพี่น้องชาวประมงสามารถจับปูม้าได้มากขึ้น ดังนั้นการปล่อยปูม้าในพื้นที่บริเวณเกาะเสร็จ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี จึงถือเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก เนื่องจากลูกปูม้าสามารถฝั่งตัวและเจริญเติบโตได้ดี ในบริเวณดังกล่าว และเป็นพื้นที่ที่รวมแหล่งอาหารของการอนุบาลสัตว์น้ำทะเลขนาดเล็ก ทั้ง หญ้าทะเล อาหารส่วนอื่น ๆ ที่เหมาะสมอีกด้วย