alivesonline.com : “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป” ผู้นำที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมแรงงานกว่า 80 ประเทศทั่วโลกและในประเทศไทย จัดทำผลการวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการใช้เงิน การดำเนินชีวิต และความคิดเห็นที่มีต่อการทำงานของคนรุ่นใหม่ 4.0” (Employee Perspective 4.0) มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 1,515 คน แบ่งเป็นเพศหญิง ร้อยละ 60 เพศชาย ร้อยละ 33 และเพศอิสระร้อยละ 7 ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามเกิดในยุค Gen M ปี พ.ศ.2523-2540 อายุระหว่าง 21-38 ปี มากที่สุด ร้อยละ70 รองลงมาร้อยละ 24 เกิดในยุค Gen X ปี พ.ศ.2508-2522 อายุระหว่าง 39-53 ปี ร้อยละ 6
ระดับการศึกษาสูงสุด หรือที่กำลังศึกษาอยู่คือ ระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 54 รองลงมาระดับปริญญาโท ร้อยละ 33 โดยส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชนมากที่สุด ร้อยละ 44 รองลงมา อาชีพอื่น ๆ ร้อยละ 19 อาชีพอิสระ ร้อยละ 14 ตามลำดับ
ส่วนใหญ่มีรายได้รวมทั้งครอบครัวต่อเดือนมากกว่า 70,000 บาท มากที่สุด ร้อยละ 36 รองลงมา ร้อยละ 16 มีรายได้รวม 60,001-70,000 บาท ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือน 20,001-30,000 บาท มากที่สุด ร้อยละ 23 รองลงมา ร้อยละ 22 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเป็นบ้านส่วนตัวมากที่สุด ร้อยละ 56 รองลงมา ร้อยละ 25 อาศัยอยู่หอพัก / อะพาร์ตเมนท์
เมื่อพิจารณาแจกแจงความถี่ร่วม (Crosstabs) จำแนกตามช่วงปีการเกิดกับรายได้ส่วนตัวต่อเดือน พบว่า Gen B (Baby Boomer) ปี พ.ศ.2489-2507 อายุระหว่าง 54-72 ปี ส่วนใหญ่มีรายได้ 50,001-60,000 บาท Gen X ปี พ.ศ. 2508-2522 อายุระหว่าง 39-53 ปี ส่วนใหญ่มีรายได้ 20,001-30,000 บาท Gen M ปี พ.ศ. 2523-2540 อายุระหว่าง 21-38 ปี ส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-20,000 บาท และ Gen Z ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป อายุ 20 ปีลงไป ส่วนใหญ่มีรายได้ ต่ำกว่า 10,000 บาท
ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษากับรายได้ส่วนตัวต่อเดือน พบว่า ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ระดับปริญญาโท ส่วนใหญ่มีรายได้ 30,001-40,000 บาท กับ 60,001 บาทขึ้นไป โดยมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน และระดับปริญญาเอก ส่วนใหญ่มีรายได้ 40,001-50,000 บาท บาท