“ครัวคุณต๋อย ยกทัพ” เปิดพื้นที่อโศกเอาใจสายชิมแนวรถไฟฟ้า

alivesonline.com : อาต๋อย-ไตรภพ ลิมปพัทธ์” นำทีม “ครัวคุณต๋อย ยกทัพ” บุก “เทอร์มินอล 21 อโศก” อำนวยความสะดวกสายชิมเดินทางตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส ในวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2563 เวลา 17.00-18.20 น. ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 อโศก บริเวณชั้น M, G, LG ย้ำแนวคิดกระจายการจัดงานไปยังพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคและผู้ชื่นชอบการรับประทานอาหารให้มากขึ้น

การจัดงาน “ครัวคุณต๋อย ยกทัพ” ถือเป็นการกระจายการจัดงานไปยังพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคและผู้ชื่นชอบการรับประทานอาหารให้มากขึ้น ขณะเดียวกันยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการร้านค้าที่มีความพร้อมในการร่วมออกบูทได้มีโอกาสเพิ่มช่องทางการตลาดในการสร้างยอดขายเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น เพราะบางร้านค้าอาจมีข้อจำกัดบางประการในการทำ

นอกจากนี้ ยังมีความพิเศษคือบูทที่จัดสร้างในงานจะถูกออกแบบให้มีไลฟ์สไตล์วาไรตี้มากขึ้น โดยยังมีไฮไลต์สำคัญที่ต้องบอกว่า “ไม่ไปถือว่าผิด” คือ การให้ความสำคัญในเรื่องของ “วัตถุดิบอาหาร” (Food Ingredient) ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของ “อาหารไทย” และอยู่คู่กับวิถีการดำรงชีพของคนไทยมายาวนาน จนได้รับการยกย่องในเรื่องภูมิปัญญาอันลึกซึ้งในการเลือกใช้พืชผักและสมุนไพรชนิดต่าง ๆ มาปรุงแต่งกลิ่นและรสชาติอาหารให้น่ารับประทาน ทำให้อาหารไทยเป็นหนึ่งในอาหารที่คนทั่วโลกยกย่อง โดยภายในงาน “ครัวคุณต๋อย ยกทัพ” จะมีการจัดบูทจำหน่าย “วัตถุดิบอาหาร” ภายใต้แนวคิด “ครัวคุณต๋อย Selected” เพื่อให้ผู้มาร่วมงานได้เลือกซื้อวัตถุดิบคุณภาพกลับไปประกอบอาหารเองตามสูตรเด็ดเฉพาะของแต่ละบุคคล

สำหรับร้านอาหาร คาว หวาน และ อาหารว่าง ชื่อดังที่จะมาร่วมออกบูทภายในงาน “ครัวคุณต๋อย ยกทัพ” แต่ละแห่งล้วนขึ้นชื่อในเรื่อง “ความอร่อย” ที่มีมาอย่างยาวนาน อาทิ ติ่มซำจากห้องอาหารจีนแมนดาริน โรงแรมไมด้าแกรนด์ทวารวดี,ร้านก๋วยจั๊บยืนพื้น, เขียวหวานเจ้นิด, ลูกชิ้นเรือ 3 ลำ, ไส้กรอกยืนรอ, อาอีซะห์ เกี๊ยวทอดนางฟ้า, หมูทอดหมักกระเทียมแม่เล็กไร่ขิง, ปิ่นมณีปลาส้มไร้ก้าง, กระเพาะปลาเยาวราช BY คุณทราย, ขาหมูกรอบ บายเชฟเดย์, เตี๋ยวหม้อห่อไส้ by ครัวเชฟ, ไส้กรอกแสนจินดา, ถั่วบางนราฯ, มะม่วงเบาแช่อิ่มครัวพี่เล็กหาดใหญ่, นงลักษณ์ขนมไทยของดีเมืองแปดริ้ว, ขนมสาลี่แม่จำเนียร, Hello Yogurt, Easy Banana เป็นต้น

ในตอนท้าย “อาต๋อย” กล่าวย้ำถึงการจัดงาน “ครัวคุณต๋อย ยกทัพ” ว่า มีแฟน ๆ รายการเป็นจำนวนมากที่เรียกร้องเข้ามามากว่าอยากให้ทีมงานไปจัดงานในหลาย ๆ ที่ โดยเฉพาะต่างจังหวัดซึ่งเราก็จะพยายามไปพบแฟน ๆ ให้ทั่วถึงทุกหนทุกแห่ง จึงอยากเชิญชวนทุกท่านให้มาเห็นความตั้งใจในการจัดงาน “ครัวคุณต๋อย ยกทัพ” เรียกได้ว่ารับรองมางานนี้ไม่ผิดหวัง เพราะมางานนี้งานเดียวเหมือนได้ไปร้านอาหารจากทั่วประเทศ โดยเฉพาะเรื่องรสชาติรับรองว่าอร่อยแน่นอน

งานนี้ต้องบอกว่า สายชิมห้ามพลาดสำหรับ “ครัวคุณต๋อย ยกทัพ” วันที่ 13 -18 ตุลาคม 2563 เวลา 17.00-18.20 น. ณ ศูนย์การค้าเทอมินอล 21 อโศก บริเวณชั้น M, G, LG เดินทางสะดวกโดยรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีอโศก

บริษัท คีนน์ จำกัด คว้ารางวัลองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ปี 63

alivesonline.com : บริษัท คีนน์ จำกัด ปลื้มหลังคว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2563 เผยผลิตภัณฑ์เด่นของบริษัทส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่พัฒนาสำหรับฆ่าเชื้อและทำความสะอาด ไม่ทิ้งสารตกค้าง สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทฯมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย อาทิ กลุ่มผลิตภัณฑ์บำบัดน้ำเสีย ขจัดคราบน้ำมัน และกลุ่มทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ

ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท คีนน์ จำกัด ผู้นำทางด้านไบโอเทคโนโลยี เปิดเผยว่า บริษัทฯ รู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2563 โดยได้เข้ารับรางวัลจากนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี ในวันงาน “วันนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563” ณ ห้องฉัตรา 1-2 โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา

บริษัท คีนน์ จำกัด เป็นองค์กรไทยที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับบำบัดและบริหารจัดการของเสียในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อลดปัญหามลพิษที่เกิดการใช้สารเคมีและลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยมีการพัฒนางานวิจัยเชิงลึกร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันวิจัยในประเทศ ทั้งนี้ บริษัท คีนน์ จำกัด ได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาความเป็นวัตกรรมขององค์กร (ไม่เฉพาะผลิตภัณฑ์) โดยมีการบริหารจัดการวัฒนธรรมในองค์กร โดยให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมนำความรู้ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองมาประยุกต์ในการสร้างคุณค่าทั้งในเชิงพาณิชย์และการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรในทุกมิติ ตั้งแต่วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ขององค์กร กระบวนการในการทำงานทุกด้าน การส่งเสริมการเรียนรู้ภายในองค์กร ตลอดจนการสร้างผู้นำในองค์กร จนไปถึงผลิตผลจากนวัตกรรมทั้งองค์กร

ดร.วสันต์ กล่าวอีกว่า บริษัท คีนน์ จำกัด มีการกำหนดนโยบายด้านนวัตกรรมที่ชัดเจน โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาไบโอเทคโนโลยี ด้านชีววิทยาศาสตร์ LifeScience ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการสร้างพันธมิตรในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ตรงตามความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และมีการจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสจากความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคมาต่อยอดธุรกิจ ควบคู่ไปกับการพัฒนาและต่อยอดในองค์กร โดยมุ่งเน้นส่งเสริมความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมในทุกภาคส่วนขององค์กรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของบริษัทฯ คือ “กลุ่มของผลิตภัณฑ์ททำความสะอาดและบำบัดน้ำเสีย” เป็นการคิดค้นและพัฒนามาจากการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพจนเกิดนวัตกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในการบำบัดของเสีย ขจัดคราบน้ำมันโดยจุลินทรีย์ก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีไบโอเทคของประเทศเยอรมนี ผู้นำระดับแนวหน้าของโลกในด้านอุตสาหกรรม จึงเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่พัฒนาสำหรับการทำความสะอาดและบำบัด โดยไม่ทิ้งสารตกค้าง สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานอีโคเซิร์ท (ECOCERT) จากยุโรป ทั้งยังผ่านการรับรองจาก NSF หรือ National Sanitation Foundation ซึ่งเป็นองค์กรรับรองมาตรฐานที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยก่อนถึงผู้บริโภค จากประเทศสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ยั งมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นอีกกลุ่มหนึ่งของบริษัทในขณะนี้คือ “กลุ่มผลิตภัณฑ์เจิม คิลเลอร์” เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้การกำกับดูแลโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อจากส่วนประกอบธรรมชาติที่มีผลการทดลองในห้องปฏิบัติไวรัสวิทยาในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสโรคมือเท้าปาก ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด H1N1 และยังมีผลจากโครงการวิจัยที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาอย่างได้ผล ทั้งยังมีผลต่อการทำลายเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N1 จึงได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ ภายในอาคารผู้โดยสารสนามบิน โรงแรมที่พัก รถขนส่งสาธารณะ โรงภาพยนตร์ และสถานที่จัดประชุมต่าง ๆ ที่มีประชาชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จากหน่วยงานที่ได้การรับรอง และผลการทดสอบจากหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีความเชื่อมั่นและมีประสิทธิภาพและการใช้งานอย่างชัดเจนต่อผู้บริโภค

“คชเชอร์ โกลบอล ฟู้ด” มอบผลิตภัณฑ์นมอัดเม็ด

alivesonline.com : ‘กมลรัตน์ แพเพชรทอง’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คชเชอร์ โกลบอล ฟู้ด จำกัด ในฐานะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ด้านการตลาดและพัฒนาธุรกิจ สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด มอบผลิตภัณฑ์นมอัดเม็ดที่ผลิตโดย สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำนวน 350 ลัง มูลค่ารวม 476,000 บาท ให้ ‘เรวัต อารีรอบ’ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำไปส่งมอบต่อให้กับสถานศึกษาและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในจังหวัดภูเก็ต เพื่อแสดงความห่วงใยในสุขภาพ และส่งเสริมให้เยาวชนทุกคนมีโอกาสเข้าถึงและได้รับคุณค่าทางโภชนาการจากนม นอกจากนี้ยังตั้งเป้าส่งมอบนมอัดเม็ด จำนวนกว่า 1000 ลัง ให้องค์กรสาธารณประโยชน์ และสถานศึกษาที่ขาดแคลนทั่วทั้งประเทศ ภายในเดือนธันวาคม 2563  ณ บริษัท คชเชอร์ โกลบอล ฟู้ด จำกัด อ. ลาดหลุมแก้ว จ. ปทุมธานี เมื่อเร็ว ๆ นี้

“โตชิบา” พัฒนาหุ่นยนต์ที่มีความรู้สึกนึกคิดและสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง (ตอนที่ 1: เทคโนโลยี)

alivesonline.com : นายฮิซาชิเกะ ทานากะ คือหนึ่งในผู้ก่อตั้งโตชิบาผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็นนักประดิษฐ์อัจฉริยะ “คาราคุริ จิเอมอน” อัจฉริยภาพด้านหุ่นกลไกของเขา ซึ่งถือได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของหุ่นยนต์ในเวลาต่อมา สามารถแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนได้

ตัวอย่างเช่น หุ่นกลไก “ยูมิฮิคิโดจิ” อันโด่งดัง ซึ่งเป็นตุ๊กตารูปเด็กชายยิงธนูที่สามารถนำลูกดอกขึ้นทาบบนคันธนูและยิงลูกธนูไปยังเป้าหมายได้

ด้วยความคิดสร้างสรรค์และช่างประดิษฐ์นี้เองที่อยู่ในสายเลือดของโตชิบามาอย่างยาวนาน และยังเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงมีความสนใจในการสร้างหุ่นยนต์ใหม่ ๆ ขึ้นมาตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของบริษัท

ในสมัยของ คาราคุริ จิเอมอน หุ่นกลไกมนุษย์อาจจะเป็นสิ่งที่สร้างความตื่นเต้นและความบันเทิง แต่ในปัจจุบัน หุ่นยนต์ได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคม พวกมันจึงต้องมีความสามารถในการช่วยแก้ไขปัญหาบางอย่างได้

ขณะนี้ เราได้ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 มาถึง 20 ปีแล้ว โตชิบาได้พัฒนา “คาราคุริ” หรือสร้างสรรค์จักรกลในรูปแบบใดเพื่อตอบสนองต่อความต้องการอันหลากหลายของสังคมสมัยใหม่บ้าง?

  • หุ่นยนต์อัจฉริยะและถิ่นที่อยู่

หนึ่งในปัญหาทางสังคมที่ประเทศญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้คือปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จำนวนประชากรวัยทำงานของญี่ปุ่นกำลังหดตัวลงจนทำให้การขาดแคลนแรงงานกลายเป็นวิกฤติทางสังคมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และถึงแม้ว่าหลายอุตสาหกรรมจะประสบปัญหาลักษณะเดียวกันนี้ แต่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักกว่าใครคืออุตสาหกรรมโลจิสติกส์ จนเกิดเป็นวลีว่า “ลอจิสติกส์ล่มสลาย” ที่ชวนให้นึกไปถึงภาวะสังคมล้มเหลว นั่นจึงทำให้เห็นได้ชัดว่านี่เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการพูดถึงและแก้ไขให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

โตชิบาได้พัฒนาหุ่นยนต์ขึ้นมาหลากหลายประเภทเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของอุตสาหกรรมการผลิต การจัดจำหน่าย และลอจิสติกส์ โดยในปีค.ศ.1967 หรือกว่าครึ่งศตวรรษที่แล้ว โตชิบาได้พัฒนา อุปกรณ์อ่านและจัดเรียงรหัสไปรษณีย์อัตโนมัติเครื่องแรกในโลก อุปกรณ์นี้ออกแบบมาให้รองรับระบบรหัสไปรษณีย์ที่จะนำมาใช้ในปีถัดไป นับเป็นการนำเครื่องจักรกลมาใช้แทนกระบวนการจัดเรียงจดหมายตามรหัสไปรษณีย์เบื้องต้นที่เคยทำด้วยมือมาเป็นเวลายาวนานและมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาของญี่ปุ่นในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตเป็นอย่างมาก ซึ่งโตชิบายังคงมีส่วนแบ่งในตลาดนี้สูงมาจนถึงทุกวันนี้

เครื่องอ่านและจัดเรียงรหัสไปรษณีย์ที่เขียนด้วยลายมืออัตโนมัติเครื่องแรกในโลก เปิดตัวเมื่อปีค.ศ.1967 (พ.ศ.2510)

เครื่องอ่านและจัดเรียงรหัสไปรษณีย์นี้เป็นการนำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนในกระบวนการที่แต่เดิมต้องใช้คนอ่านที่อยู่และจัดเรียงไปรษณีย์ด้วยมือ นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมให้สูงขึ้น นอกจากนั้น เครื่องจักรนี้ยังทำงานได้เร็วกว่ามนุษย์และทำงานได้โดยแทบไม่ต้องหยุดพัก แต่ถึงกระนั้น สำหรับระบบการส่งไปรษณีย์โดยรวม อย่างการส่งไปรษณีย์ไปยังที่อยู่ที่ถูกต้องก็ยังคงต้องมีมนุษย์เป็นผู้ควบคุมอยู่

นอกจากนี้ หุ่นยนต์ยังถูกนำมาใช้ในลักษณะคล้าย ๆ กัน ในอุตสาหกรรมการผลิต การจัดจำหน่าย และลอจิสติกส์ เพื่อทำให้กระบวนการต่าง ๆ สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ แต่เพราะเหตุใดเรายังคงพูดถึงเรื่อง “ลอจิสติกส์ล่มสลาย” อยู่อีก คำตอบก็คือ “โลจิสติกส์ล่มสลาย” ที่ว่านี้มีที่มาจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยตรง หรือพูดอีกอย่างก็คือ หากจะแก้ปัญหานี้ได้เราจำเป็นต้องนำเครื่องจักรกลเข้ามาใช้แทนที่ในกระบวนการที่เราไม่สามารถทำได้ในอดีต หรือกระบวนการที่เราเคยเชื่อว่าต้องทำโดยมนุษย์เท่านั้น

  • จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อหุ่นยนต์เข้ามาแย่งงานของมนุษย์

สิ่งหนึ่งที่หุ่นยนต์อุตสาหกรรมทำได้ดีก็คือ การทำกระบวนการเดิมซ้ำไปซ้ำมา แต่มันจะปรับตัวได้ช้าหากต้องปรับเปลี่ยนงานที่ทำไปตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เป็นเช่นนี้ก็เพราะ หุ่นยนต์ไม่ได้มีความสามารถแบบเดียวกับมนุษย์ แม้ว่ามันจะทำงานตามพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ได้ แต่มันกลับไม่สามารถเลือกใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดได้เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปเรื่อย ๆ กล่าวคือ หุ่นยนต์ไม่สามารถทำงานที่ไม่คงที่ได้

หากต้องการให้หุ่นยนต์ทำงานที่ไม่ได้มีความคงที่แน่นอนได้ เราต้องสร้างหุ่นยนต์อัจฉริยะที่สามารถ “มองเห็น” “คิด” และ “ลงมือปฏิบัติ” ได้

หากพูดให้เห็นภาพชัดขึ้นก็คือ หุ่นยนต์ต้องสามารถ “มองเห็น” ด้วยเทคโนโลยีการรับรู้ภาพ “คิด” ด้วยเทคโนโลยีวางแผนการเคลื่อนไหว และ “ลงมือปฏิบัติ” ด้วยเทคโนโลยีการควบคุม

ยิ่งไปกว่านั้น หุ่นยนต์เหล่านี้จะต้องทำงานใกล้ชิดกับมนุษย์ยิ่งกว่าที่เคยอีกด้วย ดังนั้น เทคโนโลยีที่ใช้ในหุ่นยนต์ทั้งหมดจะต้องมี เทคโนโลยีความปลอดภัย รองรับ เพื่อดูแลความปลอดภัยของมนุษย์ที่ต้องทำงานอยู่ใกล้ชิดกับหุ่นยนต์

มนุษย์ “อ่าน” สิ่งแวดล้อมรอบตัวอยู่ตลอดเวลาผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ หากเราต้องการสร้างหุ่นยนต์ที่มีความตระหนักรู้สถานการณ์รอบตัวแบบเดียวกัน เราจำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีการรับรู้ภาพขั้นสูง

ตัวอย่างเช่น หากเราต้องการให้หุ่นยนต์หยิบกล่องใบหนึ่งจากบรรดากล่องขนาดต่าง ๆ ที่วางระเกะระกะ เราต้องติดตั้ง เทคโนโลยีคัดแยกวัตถุ เพื่อให้หุ่นยนต์บอกได้อย่างแม่นยำว่ามีวัตถุประเภทใดอยู่ตรงหน้าบ้างและวัตถุเหล่านั้นวางอยู่อย่างไร ซึ่งในส่วนนี้ โตชิบา ถือเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีคัดแยกวัตถุที่ได้รับการยอมรับว่ามีระดับความแม่นยำประเมินสูงที่สุดในโลก

โตชิบาประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีคัดแยกวัตถุที่มีระดับความแม่นยำประเมินสูงที่สุดในโลก

ด้วยเทคโนโลยีการรับรู้ภาพนี้ หุ่นยนต์จะได้รับข้อมูลที่ต้องการเพื่อ “ลงมือปฏิบัติ” โดยใช้เทคโนโลยีการควบคุม

หุ่นยนต์ในปัจจุบันสามารถ “เดินตามรอย” (รับรู้) สัญลักษณ์บอกตำแหน่งที่วาดไว้บนราง หรือพื้นเพื่อให้เคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเทคโนโลยีการรับรู้ภาพนี้จะทำให้หุ่นยนต์สามารถเทียบตำแหน่งปัจจุบันของมันกับตำแหน่งฐาน และคาดคะเนตำแหน่งปัจจุบันของตนเองได้ ทำให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนไหวได้โดยอิสระและแม่นยำแม้ในพื้นที่ที่ไม่มีรางหรือสัญลักษณ์บอกตำแหน่ง นับว่าเป็นฟังก์ชันที่สำคัญมากที่จะช่วยให้หุ่นยนต์สามารถระบุเส้นทางที่ดีที่สุดในการเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางด้วยตนเอง ในแง่นี้เราอาจจะพูดได้ว่า เทคโนโลยีการรับรู้ภาพพยายามทำหน้าที่เสมือนดวงตาของมนุษย์ให้กับหุ่นยนต์

หุ่นยนต์สามารถคาดคะเนตำแหน่งของตนเองได้ด้วยเทคโนโลยีการรับรู้ภาพ โดยนำภาพที่ “มองเห็น” มาใช้คาดคะเนตำแหน่งของตนเอง ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้รางหรือสัญลักษณ์บอกตำแหน่ง

ส่วนเป้าหมายของเทคโนโลยีวางแผนการเคลื่อนไหวคือช่วยให้หุ่นยนต์สามารถนำข้อมูลที่ได้รับจากเทคโนโลยีการรับรู้ภาพมาใช้ในการ “คิด” แล้ว “ลงมือปฏิบัติ” ด้วยตนเอง อย่างเวลาที่มนุษย์เราเอื้อมมือไปหยิบอะไรสักอย่างจากกล่อง เราต้องคิดว่าของสิ่งนั้นอยู่ตรงไหน ขนาดใหญ่แค่ไหน หนักแค่ไหน และเราจะควบคุมมืออย่างไรให้หยิบของสิ่งนั้นได้โดยที่มือของเราไม่ไปชนเข้ากับวัตถุอื่นหรือด้านในของกล่อง

ในทำนองเดียวกัน หุ่นยนต์ก็ต้องวางแผนการเคลื่อนไหว เช่น จะขยับแขนกลอย่างไร หรือจะสามารถหยิบวัตถุนั้น ๆ ได้โดยไม่สร้างความเสียหายต่อสิ่งอื่นได้หรือไม่ จนถึงบัดนี้ มนุษย์เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องเหล่านี้ให้กับหุ่นยนต์ แต่เป้าหมายของเทคโนโลยีวางแผนการเคลื่อนไหวคือทำให้หุ่นยนต์สามารถ “คิด” ได้ด้วยตนเองโดยอาศัยข้อมูลที่ได้รับ รวมถึงสามารถวางแผนได้ด้วยตนเอง การที่หุ่นยนต์จะสามารถวางแผนการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมที่สุดได้นั้น จำเป็นจะต้องนำข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีการรับรู้ภาพมาสร้างชุดสถานการณ์จำลองด้วยแบบจำลองคอมพิวเตอร์ และจึงสร้างแผนที่พิจารณาแล้วว่าเป็นแผนที่ดีที่สุด

เมื่อสร้างแผนการเคลื่อนไหวเสร็จแล้ว ขั้นต่อไปคือ “ลงมือปฏิบัติ” ตามแผนดังกล่าว ซึ่งเป็นขั้นที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีการควบคุม หากเทียบกับมนุษย์แล้วก็คือความสามารถในการเคลื่อนที่ได้อย่างมีความชำนาญ

โตชิบา เชื่อว่าแขนกลต้องทำได้มากกว่าแค่ขยับตามที่แบบจำลองกำหนด จึงจะเรียกได้ว่าสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างชำนาญ

ตัวอย่างเช่น เวลาที่เราจะวางกล่องใบหนึ่งลงในตู้คอนเทนเนอร์ มนุษย์เรามักจะวางกล่องไว้ใกล้กับริมสุดของตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งในการจะทำเช่นนี้ได้ เราจะตรวจสอบดูก่อนว่าริมขอบของตู้คอนเทนเนอร์นั้นอยู่ตรงไหน แล้วจึงวางกล่องลงในบริเวณนั้น จากนั้นจึงค่อยขยับกล่องให้ชิด “ผนัง” ด้านในของตู้คอนเทนเนอร์ และปล่อยมือเมื่อรู้สึกได้ว่ากล่องสัมผัสกับผนังแล้ว และทราบแล้วว่ากล่องวางชิดริมด้านในของตู้คอนเทนเนอร์นั้นแล้ว งานที่มนุษย์ทำได้อย่างเป็นธรรมชาติลักษณะนี้คือ สิ่งที่แขนกลจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีมาช่วยจึงจะสามารถทำได้อย่างชำนาญ

พูดอีกอย่างก็คือ ในการที่จะเคลื่อนที่ได้อย่างมีความชำนาญนั้น หุ่นยนต์ต้องสามารถตรวจจับได้ว่ากล่องและผนังตู้คอนเทนเนอร์สัมผัสกันแล้วโดยใช้เซนเซอร์รับรู้แรงที่ติดอยู่ที่แขนกล

นอกจากนั้น เราต้องไม่ลืมด้วยว่ากล่องมีขนาดและรูปร่างหลากหลายแตกต่างกัน และอาจวางซ้อนกันอย่างไม่เป็นระเบียบ เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง บางใบอาจจะเบา แต่บางใบอาจจะหนัก ความแตกต่างเหล่านี้มนุษย์สามารถบอกได้และจัดการได้อย่างง่ายดาย เพราะเรารู้ว่าถ้ากล่องเอียงไปฝั่งหนึ่งต้องถืออย่างไรและเมื่อยกของหนักต้องทำท่าอย่างไร ดังนั้น โตชิบา จึงพัฒนามือกลกับสิ่งที่เรียกว่า ส่วนยึดจับไฮบริด ซึ่งช่วยให้มือกลสามารถหยิบจับกล่องรูปแบบต่าง ๆ ได้ด้วยทักษะเช่นเดียวกับมนุษย์

  • หุ่นยนต์กับความปลอดภัย?

หุ่นยนต์อัจฉริยะหรือหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวอย่างมีทักษะในลักษณะที่กล่าวไปแล้วได้ถูกพัฒนาขึ้นเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งทำให้เราจำเป็นต้องนำหุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการทำงานที่เราเคยคิดว่าต้องทำโดยมนุษย์เท่านั้น แต่การนำหุ่นยนต์มาแทนที่มนุษย์ในลักษณะนี้มีความท้าทายที่สำคัญมากอยู่ประการหนึ่ง นั่นก็คือ เราจะรับประกันความปลอดภัยได้อย่างไร

การให้มนุษย์กับหุ่นยนต์ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น จึงต้องมีการจัดการที่เข้มงวดเพื่อดูแลความปลอดภัยของมนุษย์ เช่น แยกพื้นที่ทำงานของหุ่นยนต์และมนุษย์ออกจากกัน

ในอนาคต หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานบางประเภทที่มนุษย์เคยทำ ซึ่งในบางกรณีหมายถึงงานที่มนุษย์เคยยืนทำอยู่ข้าง ๆ กันด้วย ดังนั้น มนุษย์จะต้องทำงานใกล้ชิดกับหุ่นยนต์มากกว่าที่เคย แต่อย่างไรก็ตาม เวลามนุษย์เดินชนหรือสัมผัสกัน มันไม่ค่อยอันตรายเท่าไร แต่การชน หรือกระแทกเข้ากับหุ่นยนต์อาจนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรงได้ ดังนั้น เราจึงต้องมีเทคโนโลยีความปลอดภัยที่สอดคล้องตามแนวปฏิบัติอย่าง ISO13849-1 เพื่อปกป้องมนุษย์ให้ปลอดภัยจากหุ่นยนต์

เทคโนโลยีความปลอดภัยมีหลักการพื้นฐานอยู่หลายประการ ประการหนึ่งคือหลักการแยกมนุษย์และหุ่นยนต์ออกจากกัน ซึ่งสนับสนุนให้แยกพื้นที่การทำงานของหุ่นยนต์และมนุษย์ออกจากกัน เพื่อไม่ให้มีพื้นที่ทับซ้อน แต่เนื่องจากหุ่นยนต์เริ่มถูกนำเข้ามาใช้ทำงานแทนมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ การเกิดพื้นที่ทับซ้อนจึงดูเป็นเรื่องยากที่จะเลี่ยงได้

โตชิบา ใช้อัลกอริทึมเลือกพื้นที่ทำงานเพื่อพัฒนาระบบที่หุ่นยนต์สามารถเลือกพื้นที่ทำงานที่ไม่ทับซ้อนกับพื้นที่ของมนุษย์ได้ และเคลื่อนย้ายตนเองไปยังพื้นที่นั้นได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้มนุษย์มีความปลอดภัย

นอกจากนั้น ยังได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับความเร็วที่แยกออกมาต่างหากในรถเอจีวี (Automated Guided Vehicles – พาหนะเคลื่อนที่อัตโนมัติ) นอกเหนือจากตัวควบคุมการเคลื่อนที่ที่มีอยู่แล้ว เพื่อช่วยสอดส่องตัวรถตลอดเวลาและให้มั่นใจว่ารถเอจีวีกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่เกินที่กำหนดไว้

โตชิบาเชื่อว่าเทคโนโลยีทั้งหมดที่ประกอบขึ้นเป็นหุ่นยนต์ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดควรเป็นการป้องกันความเป็นไปได้ที่จะเกิดอุบัติการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่การพัฒนาหุ่นยนต์ในขั้นแรก

ใน “ตอนที่ 2: การประยุกต์ใช้” เราจะอธิบายว่า โตชิบานำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เหล่านี้ไปใช้เพื่อพัฒนาโซลูชันให้แก่อุตสาหกรรมการผลิต การจัดจำหน่าย และโลจิสติกส์อย่างไรบ้าง

 

 

 

ททท. มอบรางวัลโครงการ TAT GYM 2020

alivesonline.com : โครงการยกระดับขีดความสามารถของการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน เคี่ยวหนักผู้สมัครร่วมโครงการ 24 ทีม ก่อนเฟ้น 10 ทีมสุดท้ายที่สร้างผลงานนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวได้อย่างโดดเด่นเข้ารับรางวัล หลังรับการบ่มเพาะทัศนคติของนักจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน การท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวหลังภาวะวิกฤติ กลยุทธ์การสร้างแบรนด์และการสื่อสาร รวมถึงการตลาดการท่องเที่ยวยุคดิจิทัล

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 นายนพดล ภาคพรต รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลโครงการยกระดับขีดความสามารถของการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน (TAT GYM 2020) ร่วมกับพันธมิตร อาทิ บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และบริษัท ฟายด์ โฟล์ค จำกัด สรุปผลภาพรวมการดำเนินงานโครงการฯ พร้อมประกาศผลและมอบรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ 3 ทีมที่สร้างผลงานนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวได้อย่างโดดเด่น นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมของผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 10 ทีม ณ อาคาร ททท. สำนักงานใหญ่ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่

นายนพดล ภาคพรต รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. เปิดเผยว่า โครงการยกระดับขีดความสามารถของการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน หรือ TAT GYM 2020 ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทั้ง 10 ทีม จากผู้สมัครทั้งสิ้น 24 ทีม และผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถอย่างเข้มข้น ทั้งจากการเพิ่มทักษะและองค์ความรู้ผ่านการอบรมออนไลน์กับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญตามหลักสูตรการอบรมของโครงการในหลากหลายหัวข้อ อาทิ ทัศนคติของนักจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน การท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวหลังภาวะวิกฤติ กลยุทธ์การสร้างแบรนด์และการสื่อสาร การตลาดการท่องเที่ยวยุคดิจิทัล เป็นต้น

นอกจากนี้ ทั้ง 10 ทีมยังมีภารกิจในการพัฒนานวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวร่วมกับที่ปรึกษาประจำทีม หรือ Mentor ในระยะเวลาประมาณ 30 วัน ซึ่งผลจากความทุ่มเทและความตั้งใจของทุกทีมก็ทำให้ได้ผลงานนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรม ซึ่งผลงานนวัตกรรมของทั้ง 10 ทีมถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของการท่องเที่ยวไทยบนพื้นฐานของการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)

นางสาวทอปัด สุบรรณรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด กล่าวว่า “แอร์เอเชีย” มีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ TAT GYM 2020 ทั้งในด้านการเป็นผู้ร่วมพัฒนาหลักสูตรการอบรมร่วมกับ ททท. และการสนับสนุนการเดินทางและของรางวัลให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยขอแสดงความชื่นชมผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 10 ทีมที่ได้ทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวออกมาจนสำเร็จเป็นรูปธรรม ซึ่งเชื่อว่าทั้ง 10 ทีมจะสามารถนำนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นไปปรับใช้เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจของตนเองและสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการ TAT GYM 2020 ทั้ง 10 ทีม ได้แก่

1.“คิดถึง คอทเทจ จังหวัดกระบี่” นำเสนอของฝากของที่ระลึกในรูปแบบออฟไลน์สู่ออนไลน์โดยนำเทคโนโลยี AR มาช่วยในการถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชน

2.“ฝักฝางโฮมสเตย์ จังหวัดเชียงใหม่” นำเสนอการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในอำเภอฝาง และการสื่อสารแบบ Viral Marketing

3.“ชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพฯ” ออกแบบการท่องเที่ยวชุมชนเสมือนจริง Virtual Community Tour โดยนำเทคโนโลยี AR และ VR มาพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนนางเลิ้ง

4.“ชุมชนพระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน” นำเสนอการนำจี้เงินที่เหลือเกินมาจากกระบวนการผลิตเครื่องเงินมาออกแบบเป็นสร้อยข้อมือที่บอกเล่าเรื่องราวของชุมชน

5.“HUG LANNA DESIGN จังหวัดเชียงใหม่” นำเสนอ “ขุนช่างเคี่ยนโมเดล” นวัตกรรมท่องเที่ยวชุมชนสร้างสรรค์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน

6.“วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนไตลื้อเมืองลวงเหนือ จังหวัดเชียงใหม่” นำเสนอนวัตกรรม “ข้าวแคบแนบวิถี” โดย การทำข้าวแคบให้มีหลายรสชาติและเพิ่มทางเลือกในการทำข้าวแคบให้สุกโดยใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมพัฒนาบรรจุภัณฑ์

7.“มีกินฟาร์ม (MEKIN FARM) จังหวัดขอนแก่น” นำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวขอนแก่นแบบใหม่ ๆ ผ่านเฟซบุ๊ก “เที่ยวถึงแก่น” พร้อมนำเทคโนโลยี Chatbot มาช่วยในการเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยว

8.“Kusatsu Onsen & Spa Chonburi จังหวัดชลบุรี” นำเสนอประสบการณ์ใหม่แห่งการท่องเที่ยวให้ผู้บริโภค โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง VR ในการสร้างสรรค์คลิปท่องเที่ยวแบบ 360 องศา ในบางแสน จ.ชลบุรี

9.“กลุ่ม BARAHOM BARZAAR จังหวัดปัตตานี” นำเสนอนวัตกรรม “โต๊ะพิมพ์ผ้าลวดลายกระเบื้องเครื่องถ้วยชามโบราณ” ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำผ้าบาติกของกลุ่ม

10.“ชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองส่าน จังหวัดสกลนคร” พัฒนากระบวนการสื่อสารกับนักท่องเที่ยว และกระบวนการจองทริปท่องเที่ยว การขายสินค้าชุมชน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยี Chatbot เข้ามาช่วย

สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยม 3 ทีมคือ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนไตลื้อเมืองลวงเหนือ, มีกินฟาร์ม และกลุ่ม BARAHOM BARZAAR ซึ่งจะได้รับเงินสนับสนุน โล่รางวัล และบัตรโดยสารเครื่องบินภายในประเทศสายการบินไทยแอร์เอเชีย

ผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการฯ เพิ่มเติมได้ทาง www.tatgym.com และ Facebook page: TAT GYM

“ทีเส็บ” จัดงาน MICE Talk 2020 “เมื่อเศรษฐกิจโลกเปลี่ยน เราต้องปรับ”

alivesonline.com : นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (ที่ 4 จากขวา) ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ “ทีเส็บ” เป็นประธานจัดงานสัมมนา MICE Talk 2020 “The New Phenomenon of Global Economy : เมื่อเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนเราต้องปรับ” เปิดเวทีให้ภาครัฐและเอกชนในธุรกิจไมซ์ร่วมรับฟังแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในช่วงสถานการณ์ COVID-19 จากผู้เชี่ยวชาญ เตรียมพร้อมปรับตัว มองหาโอกาสในความปกติใหม่ โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารองค์กรด้านไมซ์ วิทยากร และผู้ทรงคุณวุฒิร่วมในงาน นำโดย นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ที่ 4 จากซ้าย) นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร (ซ้ายสุด) ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร (ที่ 2 จากซ้าย) อาจารย์ประจำและผู้ช่วยคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตรจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายธเนศ วรศรัณย์ (ที่ 3 จากขวา) กรรมการ หอการค้าไทย นายธนพล ชีวรัตนพร (ที่ 2 จากขวา) นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ และ ดร.อดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ (ขวาสุด) เลขาธิการสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ ณ โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท

“ซีดีจี – มจพ. – ปัญญาภิวัฒน์” ผลักดันโค้ดดิ้งสู่ห้องเรียนธุรกิจค้าปลีก

alivesonline.com : กลุ่มบริษัทซีดีจี ร่วมมือกับภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง “โครงการพัฒนาศักยภาพและวางรากฐานสมองผ่านกระบวนการโค้ดดิ้ง” สำหรับนักเรียนระดับ ปวช. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ เผยบุคลากรจบใหม่กว่า 60% ยังขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ เตรียมผุดงานวิจัยต่อยอดการพัฒนากระบวนการคิดของเด็กไทยด้วยโค้ดดิ้ง

นายนาถ ลิ่วเจริญ ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทซีดีจี ผู้ให้บริการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจร แก่องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน ผู้ก่อตั้งโครงการ CDG Code Their Dreams เปิดเผยว่า จากความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโครงการ CDG Code Their Dreams และภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดหลักสูตรการสอนทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ถ่ายทอดการเรียนการสอนด้านโค้ดดิ้ง และทักษะด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ให้นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคคลทั่วไป ตั้งแต่ปี 2562 ล่าสุดได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพและวางรากฐานสมอง ผ่านกระบวนการโค้ดดิ้งสำหรับนักเรียนระดับชั้นปวช. ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ มุ่งพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ นำไปปรับใช้ในการวางแผนงานธุรกิจได้จริง เพื่อสร้างบุคลากรคุณภาพที่ตรงต่อความต้องการสู่ตลาดแรงงาน ตอบรับกับผลสำรวจของ Harvard Business Review เผยกว่า 60% บุคลากรจบใหม่ยังขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking Skills) ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่องค์กรต้องการ โดยโครงการฯ มีแผนต่อยอดพัฒนางานวิจัยเพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิเคราะห์ผ่านการเรียนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

“โครงการ CDG Code Their Dreams มีเป้าหมายในการปั้นบุคลากรด้านโค้ดดิ้งสู่ตลาดแรงงาน ทักษะสำคัญที่ตลาดมองหา โดยนอกจากจะช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีโดยทั่วไปแล้ว การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ยังเป็นภาษาสากลที่นับเป็นภาษาที่ 3 ที่ทำให้เกิดผลผลิตของนวัตกรรม ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 7,000 ราย แบ่งเป็นนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงอุดมศึกษากว่า 4,898 ราย ครูและอาจารย์ 1,995 ราย โรงเรียนที่ร่วมกิจกรรม 30 แห่ง ช่วยจุดประกายทางความคิดให้คนรุ่นใหม่นำไปต่อยอดในอนาคต สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ด้วยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อสานต่อโครงการต่อไป” นายนาถ กล่าว

ด้าน ดร.วิทวัส ทิพย์สุวรรณ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพและวางรากฐานสมอง มุ่งเน้นพัฒนาทักษะ 3 ส่วนคือ ความคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking) การจัดการปัญหา (Problem-Solving) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ผ่านการเรียนการสอนที่ฝึกฝนการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน และทักษะการแก้ปัญหา โดยเน้นไปที่ความคิด ลงมือทำและนำเสนอ ด้วยโปรแกรมหลักในการเรียนการสอนอย่าง Scratch ที่เป็นโปรแกรมพื้นฐานในการคิดเชิงตรรกะ และมีการเสริมการเรียนรู้ด้านกระบวนการคิดวิเคราะห์ด้วยกิจกรรมฐานจาก CDG Code Their Dreams หวังช่วยกระตุ้นให้เด็กเห็นความสำคัญของโค้ดดิ้งเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน เสริมศักยภาพการวางแผนงาน แก้โจทย์ปัญหาธุรกิจ ช่วยการวางแผนระยะสั้น ระยะยาว อย่างมีกลยุทธ์

นายวัฒนะ เผือกเสริฐ รองผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า เป็นความตั้งใจของเราที่จะสร้างอัตลักษณ์เยาวชนคนรุ่นใหม่หรือบุคลากรในอนาคตที่สามารถคิดและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยหลักการคิดวิเคราะห์ผ่านการเรียน Coding โดยนักเรียนสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีในการวางแผน วิเคราะห์และสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ และธุรกิจส่วนตัว มีมุมมองด้านอาชีพและด้านการตลาดบนพื้นฐานแนวคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นพลเมืองของประเทศและพลเมืองของโลกที่มีคุณภาพ สมดุลกับการเจริญก้าวหน้าของเศรษฐกิจ เทคโนโลยี สังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

“วัตสัน” ส่ง “Retail Therapy” สร้างความสนุกให้สายชอป

alivesonline.com : ชั่วเวลาพริบตาเดียวเราก็ก้าวเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 กันแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ สถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้เราต้องใช้ชีวิต แบบ “การ์ดห้ามตก” ถามว่าทุกคนเครียดกันหรือไม่… มั่นใจว่าไม่มีใครตอบว่าไม่เครียด เมื่อสถานการณ์ COVID-19 มีแนวโน้มดีขึ้น สังเกตได้จากห้างร้านต่าง ๆ กลับมาให้บริการเช่นเดิม ผู้คนออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน รวมถึงเดินเล่นตามห้างสรรพสินค้ากันมากขึ้น โดยใช้ชีวิตในสังคมได้เกือบเป็นปกติ

วัตสัน ประเทศไทย ผู้นำร้านเพื่อสุขภาพและความงาม อันดับหนึ่งในประเทศไทย อยากให้ลูกค้าได้คลายเครียด มีความสุขและยิ้มได้ จึงส่ง Retail Therapy” มัดใจลูกค้าด้วย #ชิ้นที่สอง1บาท ปรากฏการณ์โปรโมชันสุดคุ้ม เพื่อส่งความสุข สร้างความสนุกให้สายชอปสอยไอเทมที่หมายปองแบบจุใจตลอดทั้งเดือน

 

Retail Therapy : ลดเครียด – เติมสุข – กระตุุ้นความคิดสร้างสรรค์

จิตวิทยาแห่งการชอปปิงช่วยให้ชีวิตสร้างภาวะเชิงบวกของจิตใจ เพราะว่าจุดมุ่งหมายของ Retail therapy คือความสบายใจ เราจะมีความสนุกและได้ใส่ความคิดสร้างสรรค์จากการได้ Mix & Match สินค้า ช่วงเวลาที่เรากำลังเลือกซื้อสินค้าให้คนที่บ้าน เพื่อนร่วมงาน หรือแม้กระทั่งคนรัก ทำให้เราได้คลายเครียดและมีความสุขไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งที่ร้านวัตสันมีสินค้าที่หลากหลาย เปรียบเสมือนสนามเด็กเล่นของขาชอป ทำให้แบรนด์มั่นใจว่าลูกค้าสามารถคลายเครียดและยิ้มได้ทุกครั้งเมื่อมาชอปที่วัตสัน

Put a Smile on Customer Face เพราะทุกรอยยิ้ม ที่เกิดขึ้นเราอยากให้ลูกค้ามีความสุข

นอกจากความสนุกที่ได้เลือกชอปแล้ว สิ่งที่ควบคู่กันมาและขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือ การสื่อสารที่ตรงจุดการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เรายังคงความคิดสร้างสรรค์โดยต่อยอดการใช้ “ภาษาประจำภาค” มาเป็นองค์ประกอบหลักในการสื่อสาร พร้อมทีเด็ดของแต่ละวันที่ทางแบรนด์ได้นำส่ง “สวัสดีวันบาท” มาเสิร์ฟ สำหรับอินสตาแกรมได้มีการสร้างเอนเกจเม้นต์กับกลุ่มเป้าหมาย ผ่าน IG Story โดย Customize Filter สนุกสนาน ผ่านแต่ละวัน ให้ลูกค้าได้แชร์ผ่านช่องทางของตัวเอง เรียกได้ว่า ได้ทั้งรอยยิ้มและได้ทั้งของที่ถูกใจแน่นอน ทั้งหมดจึงทำให้แบรนด์มี “Human Touch” มีความใกล้ชิดกับลูกค้าและสร้างการรับรู้ให้กับ #ชิ้นที่สอง1บาท ปรากฏการณ์โปรโมชันสุดคุ้มครั้งสุดท้ายของปี

สร้างความแตกต่างด้วย Creative Promotion

การทำโปรโมชันในแบบฉบับเดิมต้องเปลี่ยนไป เพราะ การทำโปรโมชันแคมเปญแบบฉีกแนว หรืออย่างสร้างสรรค์ (Creativity Promotion) จะกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดอีกมิติที่สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่นเดียวกับ #ชิ้นที่สอง1บาท ที่ครั้งนี้ วัตสัน เน้นภาพของความสนุก เพิ่มสีสันในการสื่อสาร เพื่อสร้างรอยยิ้มให้ลูกค้า และที่สำคัญคือ วัตสันเข้าใจว่าจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้หลายครัวเรือนต้องมีการรัดเข็มขัดเรื่องค่าใช้จ่าย หรือหากจำเป็นต้องชอปปิง มั่นใจว่าหลายคนจะคำนึงถึงความคุ้มค่าและคุ้มราคาเป็นอันดับต้น ๆ

วัตสันอยากให้ทุกคนชอปได้อย่างมีความสุขและมีสติโดยไม่ต้องมี Stress Spending หรือการใช้จ่ายที่นำไปสู่ความเครียดที่มากกว่าเดิม แบรนด์จึงส่ง #ชิ้นที่สอง1บาท ปรากฏการณ์โปรโมชันสุดคุ้มครั้งสุดท้ายของปีที่จัดหนักด้วยดีลดี ๆ ให้ลูกค้าสามารถคลายเครียดและยิ้มได้ทุกครั้งเมื่อมาชอปที่วัตสัน

TMA ร่วมผลักดัน SDGs ช่วยทุกภาคส่วนร่วมสร้าง “ความยั่งยืน”

alivesonline.com : สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เตรียมจัดงาน “Sustainability Forum 2000 : Creating a Resilient City” ในวันที่ 16-17 กันยายน 2563 บนช่องทางออนไลน์ เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ระดับโลกและประสบการณ์จากผู้บริหารชั้นนำทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพื่อให้องค์กรต่าง ๆ สามารถกำหนดกลยุทธ์และแผนงานที่มีประสิทธิผล เพื่อร่วมกันสร้างความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุน Sustainable Development Goals (SDG) ขององค์การสหประชาชาติ และเพื่อสร้างความตระหนักว่า “ความยั่งยืน” (Sustainability) ได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 สู่ความสำเร็จของธุรกิจ

ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องพึ่งพาความร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่ายในการนำความยั่งยืนมาเป็นหนึ่งในเป้าหมายในการวางกลยุทธและแผนงาน เพื่อรักษาและสร้างสรรค์โลกที่ดีสำหรับคนรุ่นต่อไป  ละในมุมมองของการทำธุรกิจ จากสิ่งที่ในอดีตเป็นเพียงสิ่งที่ควรทำ ในปัจจุบันความยั่งยืนกลายเป็นสิ่งที่องค์กรต่าง ๆ จะละเลยไม่ได้ เพราะนั่นคืออนาคตของคนทุกคนบนโลกใบนี้

TMA จึงได้จัดงาน“Sustainability Forum 2000 : Creating a Resilient City” เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้แนวทางขององค์กรระดับโลกที่เชี่ยวชาญเรื่องการสร้างความยั่งยืน รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษาจากองค์กรชั้นนำในประเทศไทยและต่างประเทศ

กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารของธุรกิจ กลุ่มสตาร์ทอัป รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โดยมีค่าใช้จ่ายร่วมงานท่านละ 2 พันบาท และบัตรแพ็ค 8 พันบาทต่อ 5 ท่าน ส่วนสมาชิกของ TMA จะได้รับสิทธิพิเศษเข้าร่วมสัมมนาฟรี สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณภาณิชา โทร.0 2319 7677 ต่อ 271 อีเมล : panicha_j@tma.or.th

ในการสัมมนาครั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาชาติและประเทศไทยมาร่วมให้ความรู้ในหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น ประเด็น “Moving to Climate Resilience” โดยนายฮาราลด์ นายด์ฮาร์ด (Mr. Harald Neidhardt) CEO & Curator Futur/io Institute, Germany ในเรื่องแนวคิดการดำเนินงานที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปพร้อมกัน ศาสตราจารย์ โยฮัน ร็อคสตอร์ม (Professor Johan Rockström) Director, Potsdam Institute for Climate Impact Research (PIK), Germany จะมาเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและธุรกิจที่นำไปสู่การปรับตัวขนานใหญ่เพื่อความยั่งยืน นายฟิน มอร์เทนเซ่น ( Mr. Finn Mortensen), Executive Director, State of Green, Denmark ร่วมแบ่งปันการวางกลยุทธ์เพื่อปรับตัวตอบรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ “Strategic Planning for Resilience” นายโจนัส ธอร์นบลัม (Mr.Jonas Törnblom) CEO Envito AB, Sweden ในเรื่อง “Sustainable City by Using Smart Solution” จะมาเล่าเรื่องการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างเมืองที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหารระดับสูงขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยมาร่วมแบ่งปัน Best Practice ในการจัดทำกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) นายยาช โลเฮีย (Mr. Yash Lohia) Chief Sustainability Officer บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และนางสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอ ซีเมนส์ ประเทศไทย เป็นต้น

TMA ดึงกูรูไทย-ต่างชาติ ชี้ช่องธุรกิจเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ปรับตัวฝ่าวิกฤติ

alivesonline.com : กลุ่มผู้นำองค์กรไทย-นานาชาติ ร่วมแนะทางออกภาคธุรกิจไทยยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในสถานการณ์ COVID-19 ในงานสัมมนาออนไลน์ “Thailand Competitiveness Conference 2020” จัดโดย TMA ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องรับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวรอบด้านเพื่อก้าวออกจากวิกฤติเพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคต

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “Thailand Competitiveness Conference 2020” บนระบบออนไลน์ ภายใต้แนวคิด 3 ด้านคือ Reality Check, Understanding the Future และ Shifting the Strategy โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในช่วงวิกฤติ COVID-19 พร้อมมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ธุรกิจ รวมถึงประชาชน ร่วมกันแสวงหาแนวทางในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืนภายใต้วิถีชีวิตปรกติใหม่ (New Normal) โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้จากแวดวงธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ประมาณ 500 คน

ศาสตราจารย์ สเตฟาน แกเรลลี (Prof.Stephane Geralli) ผู้ก่อตั้งสถาบัน IMD World Competitiveness Center กล่าวว่า สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบหนักที่สุดต่อภาคการท่องเที่ยวซึ่งนับเป็น 10% ของ GDP ทั้งโลก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งต่อการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คน โดยในภาคธุรกิจมี ความน่าเป็นห่วงคือการเกิดหลุมดำทางเศรษฐกิจซึ่งอาจทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กไม่อาจอยู่รอดได้ เพราะถูกบริษัทที่ใหญ่กว่ากว้านซื้อ และทำให้เกิดภาวการณ์การลงทุนมากเกินความจำเป็น (Overcapitalization) โดยบริษัทยักษ์ใหญ่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

จากภาวะดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดเทรนด์โมเดลธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน เช่น Grab, Uber, Tesla ซึ่งล้วนเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงแต่กลับไม่ทำกำไร จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่าอาจจะนำไปสู่การพัฒนาโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ นอกจากนี้ ยังมีกระแสการนำแหล่งผลิตกลับสู่ประเทศต้นกำเนิด แทนการ Outsource ไปยังประเทศที่ค่าแรงถูก เพื่อสร้างอาชีพให้คนในประเทศ และยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน โดยในภูมิทัศน์ใหม่ของโลกหลังเกิดวิกฤติ COVID สิ่งที่ผู้คนจะต้องการมากที่สุดจากองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ ความปลอดภัย ความโปร่งใส จริยธรรม และความยั่งยืน

ศาสตราจารย์ อาทูโร่ บริส (Prof.Arturo Bris) ผู้อำนวยการสถาบัน IMD World Competitiveness Center กล่าวว่า จากวิกฤติ COVID-19 จะเห็นได้ว่าเกือบทุกประเทศต่างไม่มีความพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยประเทศที่มีขนาดพื้นที่เล็กจะรับมือกับสถานการณ์ได้ดีกว่า โดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจดีที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ สิงคโปร์ เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และฮ่องกง

ในส่วนของประเทศไทยที่ถือเป็นประเทศขนาดกลาง สิ่งสำคัญที่จะสามารถช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวและอยู่รอดได้คือ การปรับโครงสร้างให้เกิดความยั่งยืนและใช้ความยั่งยืนนี้เป็นหัวใจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะไม่เพียงเป็นแนวโน้มความต้องการของคนยุคใหม่เท่านั้น แต่ยังจะช่วยสร้างความแตกต่าง รวมถึงดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาตซึ่งถือเป็นความท้าทายและโอกาสดีที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างให้เกิดขึ้นภายในประเทศ โดยความยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากความร่วมมือของทางภาครัฐที่จะช่วยกำหนดนโยบายและผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่ภาคเอกชนไม่สามารถทำได้เอง

  • BCG แนะ 6 ทางออกก้าวผ่านวิกฤติ COVID-19

ด้าน นายอิษฎา หิรัญวิวัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการและหุ้นส่วน บริษัท เดอะ บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (BCG) บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก กล่าวว่า ในสถานการณ์ COVID-19 มีคำแนะนำ 6 ประการสำหรับองค์กรธุรกิจที่ควรมองไปข้างหน้าเพื่อก้าวออกจากวิกฤติครั้งนี้ ได้แก่

1.ภาพรวมองค์กรโดยเฉพาะในเรื่องบุคคล ดังจะเห็นได้ว่าในหลาย ๆ ธุรกิจอาจมียอดขายกลับมาไม่เหมือนเดิม แต่ค่าใช้จ่ายเรื่องบุคลากรยังคงถือเป็นต้นทุนคงที่ จึงจำเป็นต้องมีการนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบ เช่น บางองค์กรที่ปรกติมีลูกค้า 1 รายพันคน แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 อาจเหลือลูกค้า 100 ราย จึงจำเป็นต้องกำหนดแผนงานด้านบุคลากรเพื่อรองรับกับจำนวนลูกค้าที่ลดน้อยลง

2.ให้ความสำคัญกับการดูแลลูกค้า เพื่อรักษาปริมาณยอดขายและคำสั่งซื้อในอนาคต

3.บริหารการผลิตและซัปพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำให้มีเสถียรภาพเพื่อสามารถดำเนินการผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.การจัดการค่าใช้จ่าย โดยคำนึงหลักการว่าหากในวันหนึ่งต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่จะมีอะไรที่จำเป็นต้องใช้จ่ายบ้าง หรืออาจต้องใช้จ่ายแตกต่างจากเดิมอย่างไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหมือนเดิม

5.การพัฒนาระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจ หรือ Ecosystem เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในสถานการณ์ที่ทำลำบากที่สุดเพื่อให้สามารถหลุดพ้นจากวิกฤติได้

6.การให้ความสำคัญในเรื่อง “ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน” ซึ่งจะต้องทำให้ทุก ๆ ฝ่ายทั้งพนักงานและลูกค้ามีความสะดวกมากขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่าย รวมถึงการทำงานที่รวดเร็ว ตลอดจนเป็นการตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น

  • “ดุสิตธานี” ชี้แนวทางปรับโมเดลธุรกิจ

นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ก่อนหน้าสถานการณ์ COVID-19 ในวงงการธุรกิจต้องพบกับภาวการณ์หยุดชะงัก หรือ Disruption มาแล้วมากมาย ทั้ง Digital Disruption และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเราต้องพิจารณาว่าโมเดลธุรกิจที่เราจะเดินหน้าต่อไปควรจะเป็นอย่างไร โดยขอยกตัวอย่างธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปในหลาย ๆ ด้าน เช่น ผู้ปฏิบัติการ หรือเจ้าของทรัพย์สินจะสร้างความสมดุลอย่างไรระหว่างทรัพย์สินขององค์กร หรือทรัพย์สินที่ต้องเช่า รวมถึงทรัพย์สินที่ต้องบริหารงาน โดยอาจมีทรัพย์สินบางอย่างที่เราอาจต้องลงทุนเพิ่มด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาถึงพันธมิตรธุรกิจเพราะในสถานการณ์ COVID-19 การดำเนินธุรกิจเพียงลำพังบนโลกธุรกิจคงไม่เพียงพอในการตอบโจทย์การให้บริการที่ครบวงจรมากขึ้น ดังนั้นเราจึงอาจเห็นภาพธุรกิจโรงแรมร่วมมือกับสายการบิน โรงพยาบาล หรือประกันภัย เป็นต้น

ถัดมาคือเรื่องสุขอนามัยซึ่งจะกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานใหม่ที่ผู้คนจะให้ความสำคัญมากขึ้น รวมถึงเรื่องเทคโนโลยีที่จะนำมาให้บริการที่ตรงความต้องการลูกค้าและสามารถนำมาใช้ในการทำงานในทุกสถานที่ ตลอดจนเรื่องของความยั่งยืน โมเดลธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นจึงจำเป็นต้องคำนึงถึง 3 เรื่องคือ 1.การช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายมากที่สุดและให้ความยืดหยุ่นในการให้บริการ 2.การให้บริการที่ประทับใจ และ 3.การให้ความคุ้มค่าแก่ลูกค้าผู้ใช้บริการ

  • “ทีเส็บ” จัดแคมเปญช่วยผู้ประกอบการไมซ์

นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ “ทีเส็บ” กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา “ทีเส็บ” เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาหลักเกณฑ์มาตรการและแนวทางการเตรียมความพร้อมเปิดกิจการ หรือการจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและกีฬาในสถานการณ์ COVID-19 ของรัฐบาล โดยมีเป้าหมายขับเคลื่อนด้านสุขอนามัยของอุตสาหกรรมไมซ์ไทย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 สำหรับผู้ประกอบกิจการและสถานที่สาธารณะกรณีผ่อนผันการดำเนินกิจการ และเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเป็นคณะทำงานลงมือปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมจัดทำข้อเสนอแนวทางการผ่อนปรนเปิดกิจการและกิจกรรมไมซ์โดยทำงานร่วมกับ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และภาคเอกชน เพื่อนำเสนอแนวทางต่อรัฐบาลจนมีแนวทางชัดเจน และมีความพร้อมเตรียมการเปิดกิจกรรมของอุตสาหกรรมไมซ์

สำหรับมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการไมซ์ในสถานการณ์ COVID-19 “ทีเส็บ” ได้จัดแพ็คเกจ “ประชุมเมืองไทย ปลอดภัยกว่า” โดยตั้งเป้าหมายไว้ 500 กรุ๊ป สำหรับองค์กรที่จัดประชุม (Meetings) 30 คน ขึ้นไป โดยจะให้งบประมาณสนับสนุน 3 หมื่นบาท สำหรับการเดินทางข้ามจังหวัด มีการพักในโรงแรม หรือสถานประกอบการ พร้อมจัดฟังก์ชันการจัดประชุมและช่วยเหลือชุมชน โดยยังจัดงบประมาณสนับสนุน 1.5 หมื่นบาทสำหรับโรงแรมที่ขอรับการสนับสนุนการจัดประชุมต่อ 1 วัน ขณะเดียวกันยังมีแพ็คเกจ “ประชุมเมืองไทย ร่วมใจขับเคลื่อนชาติ” สำหรับการประชุมนานาชาติ (Conventions) ในประเทศโดยได้จัดงบประมาณ 5 หมื่น – 1.2 แสนนบาท สำหรับกลุ่มคณะ 100 คนขึ้นไปที่มีการพัก 2 วัน 1 คืน ตลอดจนแพ็คเกจ “งานแสดงสินค้าในประเทศ นำเศรษฐกิจไทยไปไกลกว่า” สำหรับงานแสดงสินค้านานาชาติ (Exhibitions) ในลักษณะ B2B บนพื้นที่ 3 พันตารางเมตรขึ้นไป มีงบประมาณให้ 1 ล้านบาท และ 8 แสนบาทสำหรับการจัดงานบนพื้นที่ต่ำกว่า 3 พันตารางเมตร โดยบริษัท ห้างร้าน และองค์กรต่าง ๆ สามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มได้ที่  https://www.thaimiceconnect.com/

  • บทสรุปความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับ “ผู้นำองค์กร”

ภายในงานสัมมนาครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) นายบรรณ เกษมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด นายพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านคอนเทนต์และมีเดีย บริษั ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นายอริยะ พนมยงค์ กรรมการอำนวยการ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ

ทั้งนี้ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิต่างมีความเห็นในทิศทางเดียวกันว่า สถานการณ์ COVID-19 ไม่ได้เป็นเพียงวิกฤติเพียงด้านเดียวที่ธุรกิจต่าง ๆ ต้องประสบ เพราะยังมีเรื่องของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน รวมถึงเทคโนโลยีดิสรัปชัน และอื่น ๆ ที่ล้วนเป็นสิ่งท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันซึ่งหากธุรกิจใดที่ยังภาคภูมิใจกับความสำเร็จเก่า ๆ โดยไม่ตั้งใจเปลี่ยนแปลงใด ๆ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง หรือตีโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ให้แตก ธุรกิจนั้นก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ ประการสำคัญความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นในอนาคตยังจำเป็นต้องตระหนักถึงเรื่องความยั่งยืนเป็นสำคัญด้วยซึ่งถ้าหากธุรกิจใดขาดการเตรียมพร้อมที่ดี โอกาสที่คิดว่าจะเป็นของเราอาจผันแปรเป็นโอกาสของผู้อื่นได้ในทันที

ปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจในการยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในอนาคตจึงงขึ้นอยู่กับผู้นำองค์กรที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตัวเองอย่างมากที่จะไม่ทำตัวเป็นคนรุ่นเก่าในยุคอดีต โดยต้องพัฒนาให้ตัวเองมีความทันสมัยในรูปแบบที่คนรุ่นใหม่ยอมรับ ตลอดจนมีทักษะในการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ซึ่งต้องยอมรับฟังความคิดเห็นคนรุ่นใหม่มากขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนบทบาทตัวเองจากผู้นำเป็นโคชชิ่งในทุก ๆ ด้าน

สถานการณ์ COVID-19 จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในภาพรวม ดังนั้นธุรกิจจึงต้องเปลี่ยนแปลงองค์กรและวิธีคิดของคนทำงาน ตลอดจนการกำหนดกลยุทธ์และแผนการตลาด จากเดิมที่เคยกำหนดแผนระยะยาว 5 ปีอาจใช้ไม่ได้ผลกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ควรเป็นแผนระยะสั้นรายไตรมาส ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีแผนพัฒนาสินค้าและบริการจำเป็นต้องทดสอบตลาดให้เร็วที่สุด แทนที่จะใช้เวลา 3 เดือนในการสำรวจตลาดก่อนที่จะพัฒนาสินค้า หรือบริการ ประการสำคัญขอให้คำนึงว่าทุกวิกฤติมีโอกาส แต่หลังจากวิกฤติจะทำอย่างไรให้มีโอกาสและสร้างโอกาสนั้นให้มีความเข้มแข็งโดยใช้ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันเป็นอาวุธ พร้อมกับใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือการตลาด